การเลือกใช้สีสำหรับเว็บไซต์
Designing Web Colors
การเลือกใช้สีสำหรับเว็บไซต์
เป็นสิ่งที่ชวยดึงดูดความสนใจและแสดงบรรยากาศและความรู้สึกของเว็บไซต์ได้อีกด้วย ควรใช้สีไม่มีใกล้เคียงกับตัวอักษร และไม่ใช้สีมากจนเกินไป
ประโยชน์ของการใช้สีในเว็บไซต์
- สามารถชักนำสายตาผู้อ่านไปยังบริเวณหน้าเพจที่ต้องการ
- ช่วยเชื่อมโยงบริเวณที่ได้การออกแบบเข้าด้วยกัน
- ช่วยในการแบ่งบริเวณต่างๆให้แยกออกจากกัน
- ใช้ในการดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน
- สร้างอารมณ์โดยรวมโดยรวมของเว็บไซต์ได้
- สร้างระเบียบให้กับข้อความต่างๆ
- ส่งเสริมเอกลักษณ์ขององค์กรหรือหน่วยงานนั้นๆ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสี
1. แม่สีขั้นต้น (Primary color)
- สีแดง
- สีเหลือง
- สีน้ำเงิน
2. การผสมสี(Color Mixing)
- การผสมสีแบบบวก(Additive mixing) เป็นการผสมของแสง ไม่ใช้การสมของวัตถุที่มีสีในกระดาษ
มักใช้ใน ขอโปรเจคเตอร์ ทีวี หรือจอมอนิเตอร์
- การผสมสีแบบลบ(Subtractive mixing) เป็นการผสมที่ไม่เกี่ยวข้องกับแสง แต่เปนการดูดกลืนและสะท้อนแสงของวัตถุต่างๆ
ใช้ในภาพวาด รูปปั้น สิ่งพิมพ์ต่างๆ
3. วงล้อสี(Color Wheel)
หนึ่งในการจัดเรียงสีทั้งหมดใว้ในวงกลม และจัดลำดับเฉดสีให้ง่ายต่อการใช้งาน
- วงสีแบบลบ (Subtractive Color Wheel )
- วงสีแบบบวก (Additive Color Wheel )
4. สีที่เป็นกลาง(Neutral Color)
คือกลุ่มสีที่ไม่ด้บรรจุในวงล้อสี เพราะเป็นสีที่ไม่ได้รับอิทธิพลมาจากสีอื่น คือ สีขาว,ดำ,เทา
5. สีอ่อน สีเข้ม และโทนสี (Tint,Shade and Tone)
สีอ่อน สีเข้มและโทนสีจะมีประโยชน์อย่างมากในการจัดชุดสี เพราะสีหนึ่งสามารถแสดงความรู้สึกได้หลายแบบยิ่งขึ้น
6. ความกลมกลืนของสี (Color Harmony)
ความเป็นระเบียบของสี ที่ทำให้ผู้เข้าชมรู้สึกถึงสมดุลและความสวยงามในเวลาเดียวกัน
เป้าหมายของการใช้สี คือการนำเสนอเว็บไซต์โดยใช้สีในรูปแบบที่เข้าใจง่าย น่าสนใจ และสื่อความหมายได้อย่างชัดเจน
รูปแบบชุดสีพื้นฐาน(Simple Color Schemes)
1. ชุดสีร้อน (Warm Color Scheme) สีแดง,แดงแกมม่วง,ม่วงแกมแดง,ส้ม และเขียวอมเหลือง
ให้ความรู้สึกอบอุ่น สบาย ตอรับผู้ชม
2. ชุดสีเย็น (Cool Color Scheme) สีม่วง,น้ำเงิน,น้ำเงินอ่อน,ฟ้า,น้ำเงินแกมเขียว และเขียว
ให้ความรู้สึกเย็นสบาย สุภาพ เรียบร้อย
3. ชุดสีแบบเดียว (Monochromatic Color Scheme)
มีเพียงสีเดียว ให้ความเข้มออ่นแตกต่างกันออกไป บางครั้งอาจดูไม่มีชีวิตชีวาเพราะขาดความหลากหลาย
4. ชุดสีแบบสามเส้า (Tricadic Color Scheme)
ชุดสีที่อยู่ที่มุมสามเหลี่ยมด้านเท่าทั้งสาม ซึ่งเป็นสีที่มีระยะห่างในวงล้อเท่ากัน จึงมีความเข้ากันอย่างลงตัว
5. ชุดสีที่คล้ายคลึงกัน (Analogous Color Scheme)
ประกอบด้วยสี 2 หรือ 3 สีที่อยู่ติดกันในวงล้อ อาจเพิ่มได้แต่จะทำให้ขอบเขตของสีกว้างไป
6. ชุดสีตรงข้าม (Complementary Color Scheme)
คู่สีที่ตรงข้ามกันในวงล้อสี เมื่อนำทั้งสองสีมาใช้คู่กัน จะทำให้สีทั้งสองมีความสว่างและสดใสมากขึ้น
7. ชุดสีตรงข้ามข้างเคียง (Split Complementary Color Schemes)
ชุดที่เปลี่ยนแปลงมาจากชุดสีตรงข้ามมีความหลากหลายมากขึ้น แต่จะลดความสดใส ความสะดุดตา และความเข้ากันของสีไป
8. ชุดสีตรงข้ามข้างเคียงทั้ง 2 ดาน (Double Split Complementary Color Schemes)
ชุดที่เปลี่ยนแปลงมาจากชุดสีตรงข้าม แต่สีตรงกันข้ามกันทั้ง 2 สี ถูกแบ่งเป็นสีด้านข้างทั้ง 2 ด้าน
ซึ่งจะลดความสดใส ความสะดุดตา และความเข้ากันของสีไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น